เมนู

พุทธสัพพัญญูสยปณามปัญหา ที่ 4


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีสุนทรราชปุจฉาถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้านี้สรรเสริญว่า สมเด็จพระ
พุทธเจ้าเป็นองค์สัพพัญญูแล้ว พระผู้เป็นเจ้ากล่าวว่า สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าขับเสียซึ่ง
ภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธานกาลครั้งนั้น ศากยราชและท้าว
สหัมบดีพรหมปรารถนาจะระงับดับเสียซึ่งอธิกรณ์ จึงเข้าไปสู่สำนักสมเด็จพระมุนีวรเจ้า แล้ว
จึงกล่าวอุปมาสองประการ คือ อุปมาดังพืชอันน้อยประการ 1 อุปมาดังลูกโคอ่อนประการ 1
ยังสมเด็จพระพุทธองค์ผู้เป็นที่พึ่งให้ระงับดับโทษนั้นด้วยอุปมา และเมื่อศากยาราชและท้าว
สหัมบดีพรหมถวายอุปมานี้ จะแก้ว่าพระมหากรุณาไม่รู้ ถ้าฉะนั้นสมเด็จพระมหากรุณาก็เป็น
ิองค์สัพพัญญูหารู้อุปมาไม่ อนึ่งจะแก้ไขว่าพระองค์รู้ ปรารถนาจะดูใจสงฆ์ทั้งปวง จึงขับเสียนี้
ถ้ารับเข้ามาว่าขับเแล้ว ถ้าฉะนั้นพระมหากรุณาก็ได้มีกรุณา ถ้ามีกรุณาแล้วจะขับเสียต้องการ
อะไรนั้น อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นอุภโตโกฏิ นิมนต์ผู้เป็นเจ้าโปรด
วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ตถา-
คโต
สมเด็จพระตถาคตทศพลญาณเจ้านี้ เป็นองค์สมเด็จพระสัพพัญญู สารพัดจะรู้ในธรรม
เป็นธรรมสามีคือเป็นเจ้าแห่งธรรม ตกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนั้น ก็เอาธรรมของสมเด็จ
พระสัพพัญญูทรงสั่งสอน ย้อนมาอุปมาให้สมเด็จพระบรมโลกนาถประสาทเลื่อมใส ยถาว
มีครุวนาฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจสตรีเอาทรัพย์
เป็นของสามีมาตั้งเรียงเคียงไว้ให้สามีของอาตมาเห็นส่วน ครั้นสามีเห็นทรัพย์ของอาตมาก็ชื่น
ชมโสมนัสสาการยินดี ยถา มีครุวนาฉันใดก็ดี ศากยราชและท้าวสหัมบดีพรหมนั้นก็เอา
ธรรมอันเป็นของสมเด็จพระชิเนนทรบพิตรพิชิตมารเจ้าสั่งสอนนั้น มากล่าวให้สมเด็จพระองค์
เจ้าชื่นชมยินดี ส่วนสมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้าก็อนุโมนาว่า สาธุ สาธุ ท่านว่านี้ควรแล้ว
ความนี้เปรียบเหมือนสตรี เอาทรัพย์เป็นส่วนสามีมาให้สามีชื่นชมนั้น
ประการหนึ่งจะอุปมาใหม่เล่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารเจ้า
ผู้ประเสริฐในอิสริศฤงคาร เปรียบปานดุจช่างกัลบกเอาสุวรรณาลังการ เครื่องประดับเหนือ
อุตตมังคสิโรตม์แห่งบรมกษัตริย์ให้ปราโมทย์โสมนัสยินดี อันว่าสุวรรณาลังการนี้เป็นของของ
บรมกษัตริย์ บรมกษัตริย์ก็ทรงโสมนัสยินดีซึ่งเครื่องประดับอันเป็นของของพระองค์ ยถา มี
ครุวนาฉันใด ศากยราชและสหัมบดีพรหม ก็นำเอาธรรมที่พระองค์สอนไว้มาอุปมาอุปไมยให้
สมเด็จพระองค์เจ้าเลื่อมใส ด้วยธรรมของพระองค์เอง มีอุปไมยฉันนั้น เหตุที่จะปลดเปลื้อง

ทุกข์ระงับดับกิเลสนั้น สมเด็จพระภควันตบพิตรตรัสแก่ศากยราชและท้าวสหัมบดีมหาพรหม
ไว้ทั้งนั้น
ประการหนึ่งเล่าบพิตรพระราชสมภารเจ้า จงทรงฟังอุปมาอุปไมย ได้แก่ศิษย์อันปรน
นิบัติอุปัชฌาย์ เอาจังหันของอุปัชฌาย์มาให้อุปัชฌาย์ ยังอุปัชฌาย์ให้ชื่นชมยินดี ยถา มี
ครุวนาฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ก็ชื่นชมเลื่อมใสซึ่งธรรมของพระองค์อันเทศนาไว้
เหมือนดังก่อนนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ได้สวนาการทรงฟังก็ทรงพระโสมนัสสโมสรหรือพระ
ราชโองการตรัสว่า สธุสะข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้า โยมจะรับเอาถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าไว้
เป็นข้อวัตรปฏิบัติแก่กุลบุตร อันจะเกิดมาเป็นปัจฉิมาชนตาชนในกาลบัดนี้
พุทธสัพพัญญูเสยปณามปัญหา คำรบ 4 จบเท่านี้

คีหิปัพพชิตปันนวัณณนปัญหา ที่ 5


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามปัญหาอื่นสืบไปเล่า
ว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบไปด้วยญาณปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา
ถ้อยคำนี้สมเด็จพระพิชิตมารโมลี มีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย คีหิ วา
ปพฺพชิโต วา คฤหัสถ์ก็ดี บรรพชิตก็ดี สมฺมาปฏิปนฺโน มีอุตสาหะปฏิบัติเป็นอันดีแล้ว ก็
อาจรู้ธรรมอันวิเศษ คือมรรคผลเหมือนกัน นี้แหละคฤหัสถ์นั้น กามโภคี บริโภคกามคุณ
โอทาตวสโน นุ่งห่มผ้าขาวผ้าลายเลี้ยงบุตรภรรยา หลับนอนคลุกเคล้าอยู่กับบุตรภรรยา ทัดทา
ดอกไม้ของหอมพร้อมด้วยเครื่องประดับแล้วด้วยแก้วมณี ประดับเมาลีมวยผมสารพัดจะสิ่งสม
สิ่งสินทุกประการ คฤหัสถ์เป็นกามโภคีฉะนี้ ถ้าปฏิบัติดี ก็ได้มรรคผลธรรมวิเศษ ฝ่ายบรรพ-
ชิตต้องรักษากิจโกนหนวดเคราปลงเผ้าผม นุ่งห่มเล่าก็แล้วด้วยผ้าย้อมฝาดกระทำให้เสีย
สี สมาทานศีล 227 ประการ สมาทานธุดงค์ 13 ต่อปฏิบัติดีจึงจะได้มรรคผลธรรมวิเศษ
อาศัยแก่ปฏิบัติเป็นต้นเหตุ โก วิเสโส บรรพชิตจะวิเศษกว่าคฤหัสถ์ที่ข้อไหน ตโป กมฺมํ
อันว่าตปกรรมคือศีลที่รักษาไว้ อผลํ หาผลมิได้ ปพฺพชฺชา อันว่าบรรพชา นิรตฺถกา
หาประโยชน์มิได้ สิกฺขาปทโรปนา อันว่าการระวังรักษาสิกขาบท วชฺช มีโทษ ธุตงฺคสมา-
ทานํ
อันว่าสมาทานซึ่งธุดงค์ โมฆํ สูญเปล่าหาประโยชน์มิได้ ซึ่งจะปฏิบัติไปก็จะลำบากเปล่า